ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ (16 มีนาคม พ.ศ. 2451 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2538) เป็นนักกฎหมายชาวไทย รับตำแหน่งองคมนตรีตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2538 และถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง
จิตติประสิทธิ์ประสาทวิชากฎหมายมาเป็นเวลานานจนได้รับยกย่องเป็นปรมาจารย์แห่งวงการกฎหมายไทย และได้รับการกล่าวขานว่า ตั้งมั่นอยู่ในความบริสุทธิ์ยุติธรรม
จิตติเกิดที่อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร บิดาชื่อ ทองจีน ติงศภัทิย์ มารดาชื่อละม้าย ติงศภัทิย์ มีน้องสาวชื่อ สำเนียง
บิดาของจิตติเสียชีวิตไปตั้งแต่จิตติอายุได้เพียง 4 ขวบ มารดาได้เริ่มสอนหนังสือให้ตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียน จากนั้น ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนครูเชย
สมรสกับ คุณหญิงตลับ (โล่ห์สุวรรณ) ติงศภัทิย์ เภสัชศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุตรีนายร้อยเอกหลวงมลายบรจักร (บุญมี โล่ห์สุวรรณ) และนางจรูญมลายบรจักร เมื่อ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2489 มีบุตร-ธิดา เป็น ชาย 1 หญิง 5 คือ
รับราชการเป็นพนักงานอัยการในกรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 และได้โอนย้ายมารับราชการเป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ต่อมาใน พ.ศ. 2512 จึงลาออกจากราชการเพราะรับราชการนาน ในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานกฎหมาย (ปัจจุบันคือฝ่ายกฎหมาย) ธนาคารแห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุราชการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ดังนี้
นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการประกาศให้เป็น “นักกฎหมายดีเด่น” โดยสมาคมนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2526 และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2533 กลุ่มสาขานิติศาสตร์
ตำรากฎหมายดังกล่าวของศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ยังคงใช้เป็นตำรามาตรฐานทางด้านกฎหมาย และได้รับการอ้างอิงเรื่อยมาในปัจจุบัน โดยเฉพาะตำรากฎหมายแพ่งและพาณิชย์และคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ทั้งสามภาค
ศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้เคยกล่าววลีอมตะไว้ว่า “ นักกฎหมายต้องมีความบริสุทธิ์ และมี ความยุติธรรมเป็นเป้าหมาย” ท่านเป็นผู้ริเริ่มการเรียนการสอนวิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และในเรื่องการใช้หลักรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์ในการปกครองบ้านเมืองและตัดสินคดีนั้น โดยท่านได้เคยกล่าวไว้ว่า “ก่อนที่จะออกกฎหมายผู้ตรากฎหมายต้องดูข้อ เท็จจริงแวดล้อมของสังคมซึ่งก็ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ในการพิจารณาเพื่อให้ กฎหมายเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพสามารถแก้ปัญหาของสังคมได้ แต่เมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้วการวินิจฉัยตัดสินคดีก็ต้องใช้กฎหมายคือ ใช้หลักนิติศาสตร์เป็น justice under law จะมาใช้หลักรัฐศาสตร์ในการตัดสินคดีไม่ได้”